เสาเข็มสปัน

ทำไมต้องเลือก เสาเข็มสปัน ในการสร้างบ้านหรือต่อเติมซ่อมแซมบ้าน
ในโครงการบ้านจัดสรรหรือตามหมู่บ้านต่างๆ จะได้เห็นกองเสาเข็มที่ตรงกลางกลวงเป็นรูกลมๆ ทั้งเส้นวางเรียงล้อมอยู่ หรือแม้แต่ในการซ่อมแซมต่อเติมส่วนต่างๆของบ้าน แก้ไขปัญหาบ้านทรุด บ้านเอียง หรือแม้แต่มุมเล็กๆ สถานที่คับแคบยังก็ยังสามารถใช้ได้ การรองรับน้ำหนักของเสาเข็มแบบนี้ถ้าเทียบกับเสาเข็มทั่วไปมีความแตกต่างอย่างไรและมีจุดเด่นยังไง

ในกรณีที่โครงสร้างเป็นตึกแถวหรืออาคารเกิดทรุดหรือมีการชำรุด การใช้ เสาเข็มสปัน ในการซ่อมแซมนี้จะมีปัญหากับโครงสร้างหลักอันเดิมที่ยังคงสภาพดีของอาคารไหม และจะไปกระทบกระเทือนกับอาคารบ้านเรือนที่อยู่ใกล้เคียงหรือไม่ เครื่องมือที่ใช้ในการตอกเสาเข็มประเภทนี้ใหญ่มากไหม และเสาเข็มชนิดนี้สามารถตอกฝังได้ลึกไหมถ้าเทียบกับเสาเข็มประเภทอื่น การตอกเสาเข็มชนิดนี้ใช้เวลานานไหม และเมื่อตอกเสร็จต้องทิ้งไว้นานไหมก่อนจะทำการก่อสร้างขั้นตอนต่อไป และราคาของเสาเข็มประเภทนี้เมื่อเทียบกับเสาเข็มทั่วๆไปแล้วต่างกันอย่างไร

TAG: เสาเข็มสปัน

เสาเข็มสปัน
เสาเข็มสปัน


10 ความคิดเห็น:

  1. เสาเข็มสปันคือ เสาเข็มที่ตรงกลางเป็นรูกลวง โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางหลายขนาดขึ้นอยู่กับความต้องการของการใช้งานและสถานที่ใช้งาน (เช่นลักษณะของดิน) มีความยาวอยู่ที่ 1.5 เมตร โดยสามารถตอกให้ลึกได้ตามความต้องการหรือความเหมาะสมกับสภาพของดินโดยใช้วิธีเชื่อมเสาเข็ม โดยที่เสาแต่ละต้นที่ตอกฝังลงไปนั้นจะมีหัวท้ายเป็นเหล็กเพื่อใช้สำหรับเชื่อมระหว่างต้น

    ตอบลบ
  2. การรองรับน้ำหนักของเสาเข็มสปันเมื่อเทียบกับเสาเข็มทั่วไปนั้น เสาเข็มชนิดนี้สามารถรองรับโครงสร้างหลักได้มากกว่าเสาเข็มประเภทอื่น กล่าวคือ สามารถรองรับน้ำหนักได้สูงสุด 25 ตันต่อท่อน หรือ 25,000 กิโลกรัมนั่นเอง และตัวเสาเข็มนั้นมีน้ำหนัก 120 กิโลกรัมต่อท่อน ดังนั้นเสาเข็มชนิดนี้จึงได้รับการยอมรับในเรื่องความแข็งแรง ทนทาน ปลอดภัย ไม่ทรุดหรือหักได้ง่ายๆ เมื่อเทียบกับเสาเข็มชนิดอื่นแต่ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับความลึกและจำนวนของเสาเข็มที่ร่วมรองรับน้ำหนักประกอบด้วย

    ตอบลบ
  3. ในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการทรุดตัวของโครงสร้างนั้น เสาเข็มสปันสามารถช่วยซ่อมแซมในส่วนที่ทรุดได้ โดยไม่กระทบกับโครงสร้างหลักใดๆ เนื่องจากเสาเข็มมีลักษณะกลวงตรงกลาง จึงสามารถรองรับแรงกดทับไม่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนทั้งในโครงสร้างเดิม หรือทำให้โครงสร้างเดิมต้องเสียหายจากการตอกซ่อมแซมโครงสร้าง นอกจากนี้การซ่อมแซมยังไม่กระทบกับอาคารหรือบ้านข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเสียงหรือแรงกระแทก

    ตอบลบ
  4. ในกรณีที่สถานที่มีขนาดแคบ เช่นบ้านทาวน์เฮาส์ ตึกแถว ที่มีหน้าแคบแต่ลึก ก็สามารถใช้เสาเข็มสปันในการต่อเติมหรือซ่อมแซมโครงสร้างได้ โดยเสาเข็มสปันหนึ่งท่อนนั้นมีน้ำหนัก 120 กิโลกรัม ใช้คนยกสองคนในการขนยก โดยสามารถทำงานในบริเวณที่แคบต่ำสุดที่ความกว้าง 1.5 เมตร ความสูง 3 เมตร และสามารถตอกชิดกับโครงสร้างเดิมโดยเว้นช่องห่างที่ประมาณ 50 เซนติเมตร

    ตอบลบ
  5. เสาเข็มสปันสามารถตอกได้ลึกสุดได้ถึง 25 เมตร โดยสามารถตอกกับดินแข็ง ดินเหนียวได้ ยิ่งตอกลึกเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้โครงสร้างยิ่งแข็งแรงมากขึ้นเท่านั้น โดยเสา 1 ท่อนมีความยาว 1.5 เมตร ดังนั้นการวัดความลึกของการตอกเสาเข็มนั้นก็คือการนับจำนวนเสาที่หลอมต่อๆลงไปนั่นเอง โดยนอกจากการตอกให้ลึกในระดับที่มีความมั่นคงไม่ทรุดแล้วยังควรเกลี่ยจำนวนจุดวางเสาเข็มเพื่อเฉลี่ยน้ำหนักด้วยนั่นเอง

    ตอบลบ
  6. ประเภทการใช้งานเสาเข็มสปันนั้น มี 2 ประเภทคือ
    1. ใช้โดยวิธีตอกเสาเข็ม คือการใช้เครื่องมือหนักขนาดเล็กอย่างปั้นจั่นตอกเสาฝังลงไปในดิน
    2. ใช้วิธีกดเสาเข็ม เป็นการใช้เครื่องมือแม่แรงไฮโดรลิค ในการปักเสาให้ลงไปในดิน
    โดยความลึกในการตอกเสาเข็มสปันนั้น พื้นที่กรุงเทพและใกล้เคียง ตอกลึกเฉลี่ยประมาณ 21 เมตร โดยเป็นความลึกที่พอดีเพื่อป้องกันปัญหาเกิดการทรุดตัว

    ตอบลบ
  7. การกระจายการลงน้ำหนักของ เสาเข็มสปัน นั้นจะช่วยให้โครงสร้างของบ้านแข็งแรงทนทานมากขึ้น และไม่ทรุด โดยวิธีการ กำหนอจำนวนจุดในการตอกเสาเข็ม และลงเสาเข็มในความลึกที่เท่ากัน โดยความลึกนั้น ยิ่งลึกก็ยิ่งทน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เช่นถ้าพื้นที่เป็นดินเหนียว ก็ไม่จำเป็นต้องตอกลึกเท่ากับพื้นที่บริเวณที่เป็นผิวดินอ่อน เช่นกรุงเทพ สมุทรปราการ หรือพื้นที่ใกล้เคียงแม่น้ำ

    ตอบลบ
  8. เสาเข็มสปัน เหมาะกับสิ่งปลูกสร้างประเภทใด เสาเข็มสปันสามารถใช้ในการรองรับโครงสร้างของ บ้าน ทั้งบ้านชั้นเดียว บ้านสองชั้น หรือบ้านสามชั้น ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม ตึกแถว โครงการหมู่บ้านต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถรองรับการสร้างลิฟท์สำหรับยกของ หรือลิฟท์สำหรับบรรทุกคนในห้างสรรพสินค้า และยังสามารถรองรับการสร้างลานจอดรถ สร้างโรงงานที่ต้องวางสิ่งของหรือเครื่องจักรที่มีน้ำหนักมาก ดังนั้นเสาเข็มชนิดนี้จึงเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางนั่นเอง

    ตอบลบ
  9. การเลือกผู้รับเหมาในการทำ เสาเข็มสปัน นั้นควรเลือกผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ในการตอกเสาเข็มในด้านต่างๆ ทั้งก่อสร้าง ต่อเติม และซ่อมแซม เนื่องจากผู้รับเหมาจะเป็นผู้คำนวณจำนวนจุด จำนวนเสา และความลึกในการตอก โดยสามารถสอบถามข้อมูลเบื้องต้น หรือดูข้อมูลจากทางเว็บไซต์ที่ค้นหา และขอดูรูปเพิ่มเติม อาจสอบถามรายละเอียดเช่นความลึกเท่าไหร่ ใช้งานอะไร ผู้รับเหมาที่ติดต่อได้ง่ายก็เป็นอีกทางเลือกที่ดี

    ตอบลบ
  10. การวางแผนงบประมาณค่าใช้จ่ายในการตอกเสาเข็มสปัน
    เนื่องจากการตอกเสาเข็มประเภทนี้ไม่ใช่ผู้รับเหมาซ่อมแซมหรือต่อเติมบ้านทุกท่านจะรับทำ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรเลือกทีมที่สามารถตอกเสาเข็มและซ่อมแซมต่อเติมหรือสร้างโครงสร้างร่วมด้วยเลย โดยการคำนวณงบประมาณจะคิดเป็นค่าวัสดุรวมค่าแรง หรืออาจคิดเฉพาะค่าแรงอย่างเดียว โดยค่าวัสดุเจ้าของบ้านเป็นผู้จัดการเอง เสาเข็มประเภทนี้อาจมีราคาสูงกว่าเสาเข็มทั่วไปเล็กน้อย แต่รองรับน้ำหนักและทนทานมากกว่า จึงควรใช้เหตุผลนี้มาประกอบการตัดสินใจ

    ตอบลบ

เสาเข็มสปัน